Home > News > เยาวชนไทยส่วนใหญ่ ยังกตัญญูต่อพ่อแม่

เยาวชนไทยส่วนใหญ่ ยังกตัญญูต่อพ่อแม่

August 12, 2024

เยาวชนไทยส่วนใหญ่ ยังกตัญญูต่อพ่อแม่

ไอเอฟดีโพลชี้ว่า “เยาวชนไทยส่วนใหญ่ เห็นว่าความกตัญญูเป็นสิ่งดี/ควรทำ” ไอเอฟดีโพลแอนด์เซอร์เวย์ สถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา สำรวจประเด็นเยาวชนกับความกตัญญู ในกลุ่มเยาวชน 15-24 ปี จำนวน 1,187 ตัวอย่างทั่วประเทศ กระจาย 5 ภูมิภาค ด้วยวิธีสำรวจภาคสนามและโทรศัพท์อย่างละ 50% สุ่มตัวอย่างแบบความน่าจะเป็น ด้วยวิธี Stratified Five-Stage Random Sampling แต่ละตัวอย่างที่ถูกเลือกมีค่าถ่วงน้ำหนัก ค่าความผิดพลาด 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% สำรวจช่วง 4-10 สิงหาคม 2567  ผลสำรวจดังนี้

      เยาวชนให้ความคิดเห็นใน 3 ประเด็น ไปในทิศสอดคล้องกัน คือ เยาวชนยังคงรักและกตัญญูต่อพ่อแม่ โดยผลสำรวจ พบว่า

  • เยาวชน 82% เห็นด้วยว่า “ความกตัญญู/ดูแลพ่อแม่ยามชรา เป็นสิ่งที่ควรทำ”
  • เยาวชน 15% ไม่เห็นด้วยในประเด็นที่ว่า “ไม่ต้องเลี้ยงดูพ่อแม่ เพราะพ่อแม่อยากให้เกิดมาเอง จึงไม่ถือเป็นบุญคุณกัน”
  • เยาวชน74% ไม่เห็นด้วยในประเด็นที่ว่า “ไม่จำเป็นต้องเลี้ยงดูพ่อแม่ยามแก่/ชรา  เป็นภาระลูกหลาน ควรให้รัฐบาลเลี้ยงดู”

      แต่มีข้อสังเกตว่าผลสำรวจไม่สอดคล้องกัน ในประเด็น “พ่อแม่ต้องเลี้ยงดูตนเอง เพราะพ่อแม่อยากให้เกิดมาเอง จึงไม่ถือเป็นบุญคุณกัน” กลับพบว่า เยาวชน 25.02% ตอบว่าไม่แน่ใจ ซึ่งหากรวมกับคำตอบ เยาวชน 14.83% ที่ตอบว่าเห็นด้วย มารวมกันจะได้ถึง 39.85% จึงสัมภาษณ์เพิ่มเติม เยาวชนให้เหตุผลที่ตอบไม่แน่ใจ เพราะความกตัญญูเป็นเรื่องของความรักผูกพันที่ตนเองมีต่อพ่อแม่/ผู้เลี้ยงดู ที่ตั้งใจจะตอบแทนดูแล แต่ไม่ได้มองเป็นเรื่องการตอบแทนเพราะติดหนี้บุญคุณกัน ซึ่งจะเป็นเรื่องไม่ยั่งยืนที่อาจทำหรือไม่ทำก็ได้ 

      ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ให้ความเห็นจากผลโพลว่า “ความกตัญญูไม่ใช่เป็นแค่เรื่องการแลกเปลี่ยนกันตามบทบาทหน้าที่ แต่เป็นเรื่องความรักความผูกพันที่ดีระหว่างพ่อแม่/ผู้เลี้ยงดูและบุตรหลาน ผมเสนอไว้อย่างต่อเนื่องว่าครอบครัวคือบ้านหลังแรกที่สำคัญที่สุดในการวางรากฐานความเจริญของสังคม ดังนั้นจึงควรส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างกันในครอบครัวให้เข้มแข็ง”  

 

ลักษณะทางประชากรและภูมิภาค 

  • เพศ เยาวชน 53% เป็นเพศชาย  49.71%  เป็นเพศหญิง  และ 1.77% เป็นเพศอื่น ๆ  
  • อายุ เยาวชน 17% อายุ 15-18 ปี 41.20% อายุ 19-22  ปี  และ 12.64%  อายุ 23-24 ปี
  • ระดับการศึกษา เยาวชน 51% ประถมศึกษา  16.85% มัธยมศึกษาตอนต้น  33.61% มัธยมศึกษาตอนปลาย 16.68% ปวช. 11.63% ปวส./อนุปริญญา 19.55% ปริญญาตรี และ 1.18% สูงกว่าปริญญาตรี

ภูมิภาค เยาวชน 15.25% อาศัยอยู่ใน กทม. และปริมณฑล  19.12% ภาคกลาง  17.19% ภาคเหนือ    32.94% ตะวันออกเฉียงเหนือ และ 15.50% ภาคใต้

© All Rights Reserved.